หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรคของแมว



โรคของแมว


ความผิดปกติที่พบบ่อยในแมว     1. อาเจียน  การ อาเจียนในแมวอาจพบได้เป็นปกติในกรณีที่แมว รู้สึกไม่สบายตัว แล้วจึงไปกินหญ้าเพื่อให้อาเจียนออกมา แต่ถ้านอกจากนี้ หรือพบว่าแมวอาเจียนบ่อยมาก นั่นหมายถึงว่าเกิดความผิดปกติขึ้นแน่นอน การอาเจียนนั้นจะต้องเกิดหลังจากกินอาหารเข้าไปอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ถ้าเกิดเร็วกว่านั้นมักจะเรียกว่าการสำรอก ซึ่งจะมีสาเหตต่างกัน

สาเหตุ ของการอาเจียน :แบ่งได้ 3 สาเหตุใหญ่ๆคือ การติดชื้อภายในร่างกาย ความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร และความผิดปกติในระบบการทำงานของร่างกายนอกเหนือจากทางเดินอาหาร

          สำหรับการวินิจฉัย : จำเป็นจะต้อง ใช้การตรวจเลือด การเอ็กซเรย์ หรืออาจจะต้องใช้กล่องตรวจภายใน ดังนั้นท่านเจ้าของไม่ควรนิ่งนอนใจเมื่อแมวของท่านเกิดอาเจียนขึ้นมา

     2. ท้องเสีย  อาการท้องเสีย หรือถ่ายเหลวสามารถพบได้บ่อยในแมว สามารถแบ่งลักษณะการท้องเสียตามอาการและความรุนแรง ได้ 3 ประเภทใหญ่คือ

          - ถ่ายเหลวเป็นน้ำ สาเหตุมักเกิดจาก อาหาร การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ป่วยด้วยโรคอื่นๆ
          - ถ่ายเหลวเป็นเมือก มักเกิดจาก พยาธิ และปาราสิตบางชนิด
          - ถ่ายเหลวเป็นเลือด มักเกิดจากมีบาดแผลในลำไส้ พยาธิ ปาราสิตบางชนิด ไวรัส หรือแบคทีเรียบางชนิด สำหรับความรุนแรงของโรคนั้นมีตั้งแต่ป่วยเล็กน้อย จนถึงตาย ดังนั้นเมื่อมีอาการท้องเสียควรนำแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อหาสาเหตุและการรักษา ที่ถูกต้อง

     3. น้ำลายไหล  เมื่อแมวมีอาการน้ำลายไหลออกมามากเกินไป อาจจะมีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น แพ้ยาหรือสารเคมีบางอย่าง ติดเชื้อไวรัสบางชนิด กินยาเบื่อหนู ความรุนแรงอาจจะถึงตายได้ดังนั้นควรนำไปพบหมอเพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาโดยด่วน

     4. ไอ  แมวที่มีอาการไอ มักจะมีปัญหาที่หลอดลม หรือปอด อาจจะเกิดจากสาเหตุของการติดเชื้อ ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด การวินิจฉัยที่ได้ผลมักจะต้องเอ็กซเรย์ หรือต้องใช้กล้องตรวจภายในส่องดู บางทีอาจจะต้องเช็คเลือดด้วย

     5. จาม  บางตรั้งแมวที่มีสุขภาพแข็งแรงดีก็อาจจะจามได้ เมื่อรู้สึกระคายเคืองที่จมูก แต่ถ้าการจามนั้นบ่อย หรือร่วมกับการมีน้ำมูก นั่นแสดงว่าป่วยซะแล้ว สาเหตุอาจเกิดจากแบคทีเรีย หรือไวรัส ต้องพาไปตรวจก่อนจะสายเกินไป ไม่งั้นอาจจะลุกลามจนทำให้เป็นปอดบวมได้

     6. ท้องผูก  แมวพันธุ์ขนยาวมักจะมีปัญหาท้องผูกอยู่เสมอ เพราะมักจะเลียกินเศษขน เข้าไปจนไปอุดตันในลำไส้ นอกจากนี้แมวที่มีปัญหาเรื่องเชิงกรานแคบก็จะมีปัญหาเรื่องท้องผูกอยู่ เหมือนกัน การวินิจฉัย: จะใช้การคลำร่วมกับ การถ่ายภาพเอกซเรย์

          การป้องกัน : จะต้องให้แมวกินอาหารที่มีกากเยอะๆจะได้ช่วยในการขับถ่ายได้ง่าย นอกจากนี้ก็จะมีผลิตภัณฑ์ สำหรับป้องกันการท้องผูกขายอยู่ด้วย

     7. ฉี่ไม่ออก   อาการฉี่ไม่ออก มักพบได้บ่อยในแมวตัวผู้มากกว่าตัวเมีย เพราะตัวผู้มักจะมีเศษไขมันที่เกิดในทางเดินปัสสาวะไปอุดตันที่ปลายท่อทำให้ ฉี่ไม่ออก เมื่อคลี่ปลายท่อปัสสาวะก็จะสามารถพบเศษไขมันนั่นได้ เจ้าของสามารถดึงเอาออกได้ เองแต่ถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษาหมอ

          สำหรับสาเหตุอื่นๆ : อาจจะเกิดจากความผิดปกติของไต นิ่ว เป็นต้น

          การวินิจฉัย: มักจะใช้การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ และการเอ็กซเรย์ ไม่ควรปล่อยให้แมวอั้นฉี่ไว้นานเพราะจะมีผลต่อการทำงานของไต และระบบอื่นๆในร่างกายได้ ควรรีบนำแมวไปให้หมอตรวจหากพบว่าแมวพยายามฉี่ แต่ฉี่ไม่ออกอยู่หลายครั้ง

     8. ฉี่เป็นเลือด   อาการฉี่เป็นเลือด เป็นอาการที่ไม่ค่อยดีนัก สาเหตุมักจะเกิดจากนิ่ว การติดเชื้อ เป็นต้น ไม่ควรนิ่งนอนใจควรพาแมวไปพบหมอโดยด่วน เพราะอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้


โรคพยาธิหนอนหัวใจ
โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวคืออะไร     โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวมีความรุนแรงและสามารถทำให้แมวป่วยตายได้ โรคนี้เกิดจากพยาธิ Dirofilaria immitis ซึ่งเป็นพยาธิชนิดเดียวกันกับพยาธิที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคพยาธิหนอนหัวใจ ในสุนัข แต่จากรายงานการวิจัยเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่า พยาธิชนิดนี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงและทำให้แมวตายอย่างปัจจุบันทัน ด่วนได้

แมวเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจได้อย่างไร     แมวสามารถเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจได้ด้วยวิธีเดียวกับที่สุนัขเป็น ยุงคือพาหะของโรคพยาธิหนอนหัวใจ ด้วยการกัดกินเลือดจากสุนัขที่ป่วยด้วยโรคนี้ หลังจากนั้นจึงแพร่เชื้อ (ตัวอ่อนระยะติดต่อ)ไปยังสุนัข หรือแมวอีกตัวหนึ่ง เมื่อยุงไปกัดกินเลือด

แมวที่อยู่อย่างไร ที่ไหนจึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจ     ที่ใดก็ตามที่สุนัขมีความเสี่ยงต่อการติดโรค เช่น อยู่ในบริเวณที่มีการระบาดของโรค หรือมีสุนัขที่ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจอยู่ร่วมด้วยโดยไม่ได้รับการรักษา ทำให้เป็นตัวกักโรค สามารถเป็นแหล่งแพร่เชื้อให้กับสุนัขและแมวตัวอื่นๆ ได้ แมวที่อยู่ภายในบ้านก็สามารถติดโรคนี้ได้เช่นกัน ในต่างประเทศพบว่าแมวกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ร่วมกับสุนัข หรืออยู่ในบริเวณที่มีสุนัขป่วยด้วยโรคนี้มีความเสี่ยงที่จะติดโรคนี้ได้ สำหรับในประเทศไทยการรายงานพบโรคพยาธิหนอนหัวใจยังมีน้อย แต่สุนัขที่ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจมีมาก
อาการของโรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวเป็นอย่างไร
 
   อาการของแมวที่พบว่าเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจที่สามารถพบได้บ่อยได้แก่ :
          - ไอ
          - หายใจลำบาก
          - อาเจียน
          - เงื่องหงอย ซึม
          - น้ำหนักตัวลดลง

     อาการอื่นๆ ที่สามารถพบได้ :
          - หมดสติ
          - ชัก
          - ตายอย่างกระทันหัน (sudden death)

     อาการเหล่านี้อาจจะพบได้ในแมวที่ป่วยด้วยโรคอื่นๆ เหมือนกัน ที่ดีควรนำแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย

โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวรักษาได้อย่างไร     ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้สำหรับการรักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจในแมว

มีวิธีการป้องกันการเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวได้อย่างไร     การป้องกันเป็นวิธีการที่ดีทีสุด ควรปรึกษาสัตวแพทย์

การติดต่อพยาธิหนอนหัวใจในแมว



    
โรคไข้หัดแมว 
     โรคนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโรคลำไส้อักเสบติดเชื้อไวรัสในแมว เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปและเกิดในแมวทุกอายุ แมวทุกตัวควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ เนื่องจากไม่สามารถระวังให้แมวไม่สัมผัสกับเชื้อโรคนี้ได้ โดยเชื้อนี้จะมีผลกับอวัยวะต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดอาการไข้ เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย แสดงสภาวะขาดน้ำ อ่อนเพลีย ตัวสั่นและเดินไม่ตรง แมวอาจตายภายใน 1 สัปดาห์ ลูกแมวที่เป็นโรคนี้ 3 ใน 4 ตัวจะตาย แมวที่มีอายุเมื่อเป็นโรคนี้จะมีอัตราการตาย 50% ดังนั้นควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ในลูกแมวอายุ6-12สัปดาห์ และฉีดกระตุ้นซ้ำทุกปี ลูกแมวที่อายุน้อยกว่า 12 สัปดาห์ ควรฉีดวัคซีนนี้ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 2-3สัปดาห์


การควบคุมดูแลแมวที่มีอายุมากเกี่ยวกับอาการของโรคต่างๆ 

ถ้าแมวที่มีอายุมีท่าทางว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างเกี่ยวกับหน้าที่ ของระบบต่างๆในร่างกายมากขึ้น อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากการมีอายุมากขึ้น หรืออาจจะเกิดจากการมีโรคเกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งเหล่านี้จะช่วยเตือนให้รู้ว่าเป็นโรคได้แต่เนิ่นๆ ขบวนการ

          1. การควบคุมการกินอาหาร ว่าจะให้กินเมื่อใด กินอาหารประเภทไหน มีการกินหรือการกลืนลำบากหรือเปล่า และอาเจียนหรือไม่

          2. การควบคุมการกินน้ำ โดยดูว่ามีการกินน้ำมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติหรือไม่

          3. การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระโดยดูที่ สี ปริมาณ ความเข้มข้น ความถี่ในการขับถ่าย หรือดูว่ามีอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะหรืออุจจาระหรือไม่ หรือดูว่ามีการขับถ่ายเรี่ยราดหรือไม่

          4. ชั่งน้ำหนักทุกๆ 2 เดือน

          5. มีการตรวจและตัดเล็บ ตรวจดูแผลตามตัว รวมถึงกลิ่นที่ผิดปกต การขยายใหญ่ของช่องท้องและดูว่ามีอาการขนร่วงหรือไม่

          6. การควบคุมด้านพฤติกรรม ดูการนอน การแสดงออกต่อผู้คนรอบข้างมีอาการตกใจง่ายหรือไม่ และลักษณะท่าทางการนอนผิดปกติหรือไม่

          7. การควบคุมด้านท่าทางและการเคลื่อนไหว เช่นมีการชักหรือไม่ การสูญเสียการทรงตัว หรือเจ็บขา
          8. ดูความผิดปกติของการหายใจ หรือดูว่ามีการไอ มีการหอบหายใจ การจามหรือไม่

          9. ดูแลสุขภาพฟัน แปรงฟันให้แมวอย่างสม่ำเสมอ ดูว่ามีสิ่งผิดปกติในปากหรือไม่ ดูปริมาณน้ำลาย และดูลักษณะสีของเหงือกว่าเป็นสีเหลือง ชมพูหรือม่วง

          10. ควบคุมอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมว่าแมวของคุณมีความสุขสบายหรือไม่

          11. พาไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ของคุณเป็นประจำ

ลักษณะอาการที่พบบ่อยและโรคที่เกี่ยวข้อง
     1. การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม โรคที่เกี่ยวข้อง คือ ความเจ็บปวดจากข้ออักเสบหรือสภาวะอื่นๆ การสูญเสียการมองเห็นและการได้ยิน โรคตับ โรคไต โรค Hepatic lipidosis

     2. การอ่อนเพลียหรือเหนื่อยง่าย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การทำงานผิดปกติของ Mitral valve โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง โรคอ้อน โรคมะเร็ง

     3. การเปลี่ยนแปลงในด้านความกระตือรือร้นของร่างกาย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรค Hyperthyroidism โรคข้ออักเสบ ความเจ็บปวดต่างๆ ความอ้วน โลหิตจาง ความผิดปกติของ Mitral valve และโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคมะเร็ง

     4. น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น โรคที่เกี่ยวข้อง คือ ความอ้วน

     5. น้ำหนักลด โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคมะเร็ง โรคไต โรคตับ โรคของระบบทางเดินอาหาร การกินอาหารลดลง Hyperthyroidism Hepatic lipidosis โรคฟัน ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ Mitral valve โรคหัวใจ การอักเสบของลำไส้

     6. การไอ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคหอบ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง

     7. การดื่มมากและปัสสาวะบ่อย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต Hyperthyroidism

     8. การอาเจียน โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคไต โรคตับและโรคของระบบทางเดินอาหาร

     9. อาการท้องเสีย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคของระบบทางเดินอาหาร การอักเสบของลำไส้ โรคไต โรคตับ และอาจเกิดจากการเปลี่ยนอาหารเร็วเกินไป

     10. การชัก โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคลมชัก ( Epilepsy ) โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต

     11. อาการลมหายใจเหม็นผิดปกติ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคฟัน โรคมะเร็งในช่องปาก โรคไต

     12. อาการขาเจ็บ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การลุกลำบาก การเดินผิดปกติ ข้ออักเสบ ความอ้วน เบาหวาน

     13. การกลั้นปัสสาวะไม่ได้หรือการถ่ายเรี่ยราด โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การเป็นเนื่องจากข้ออักเสบ การอักเสบของลำไส้ Bladder stones โรคมะเร็ง

     14. อาการบวมและการกระแทก โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ

     15. การเปลี่ยนความอยากของอาหาร โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต ความเครียดและความเจ็บปวดต่างๆ อาจเกิดจากฤทธิ์ของยา โรคปากและฟัน Hyperthyroidism และ Hepatic lipidosis


สาเหตุของการเกาและเลียในแมว      บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจโรคอันเป็นสาเหตุของการเกาและเลียในแมว อาการแพ้นั้นมีอยู่หลายโรค ที่เป็นสาเหตุให้แมวของคุณเกา เลีย ดึงขน หรือผิวหนังแดง เหล่านี้ได้แก่ โรคขี้เรื้อน โรคมะเร็ง ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมและการติดเชื้อ พร้อมด้วยการวินิจฉัยโรคและการรักษาได้ถูก สรุปไว้ดังแสดงในตารางด้านล่างต่อไปนี้










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น