หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แมววิเชียรมาศ

ประวัติแมวไทย วิเชียรมาศ

แมววิเชียรมาศ
แมววิเชียรมาศ

แมววิเชียรมาศ ปรากฏหลักฐานในสมุดข่อยโบราณของไทย เป็นแมวที่คนไทยเลี้ยงไว้ในพระราชสำนัก
เพราะถือว่าเป็นแมวนำโชคลาภ ซึ่งชาวบ้านธรรมดาไม่มีโอกาสเลี้ยง แมววิเชียรมาศ มีตาสีฟ้า สดใส และมีสีเข้มเรียกว่า แต้ม

ชาวต่างประเทศเรียก แมววิเชียรมาศ ว่า แมวแต้มสีครั่ง Seal Point ส่วนสีขนนั้น เมื่อ ลูกแมว แรกเกิด จะเป็นสีครีมอ่อนฯ หรือขาวนวล

แต่เมืออายุ มากขึ้น สีสันต่างๆ จะเริ่มเข้มขึ้นตามลำดับ ชาวต่างประเทศได้นำแมวไทยไปผสมกับ แมวต่างประเทศบางพันธุ์ ได้แมวที่มีสีแต้มอื่นๆ อีกหลายสี

เช่น แต้มสีเทา, แต้มลาย, แต้มสีกลีบบัว แมวเหล่านี้ จัดไว้ในกลุ่ม Siamese Cat ซึ่งเป็นแมวที่มีผู้นิยมเลี้ยงกันมาก และมีราคาสูง

เมื่อปี พ.ศ.2427 ชาวอังกฤษ ชื่อนายโอเวน กูลด์ (Owen Gould)
กงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ได้นำแมวไทยตัวผู้และตัวเมียคู่หนึ่งจากประเทศไทยไปฝากน้องสาวของท่านที่ อังกฤษ

อีกหนึ่งปีต่อมา แมวคู่นี้ถูกส่งเข้าประกวดในงานประกวดแมวที่ The Crystal Palace
กรุงลอนดอน ผลปรากฎว่าได้ที่หนึ่ง ทำให้ชาวอังกฤษพากันตื่นเต้นเลี้ยงแมวไทยกันมากขึ้น จนถึงขั้นตั้งเป็นสโมสรแมวไทย เมื่อปี พ.ศ.2443 มีชื่อว่า The Siamese Cat Clubs ต่อมาในปี พ.ศ.2471 ก็มีการตั้งสมาคมแมวไทยแห่งจักรวรรดิอังกฤษ หรือ The Siamese Cat Society of the British Empire ขึ้นอีกสมาคมหนึ่ง

แมวไทยที่นายโอเวน กูลด์ นำไปจากเมืองไทยนั้น มีแต้มสีครั่ง หรือนำตาลไหม้ที่บริเวณหน้า หูสองข้าง เท้าทั้งสี่ หาง และ อวัยวะเพศ รวมเก้าแห่งทั้งตัวผู้และตัวเมีย นับเป็นแต้มสีที่อยู่ในตำแหน่งอันเหมาะเจาะจนเหลือเชื่อ แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่นที่มักมีแต้มสีเลอะเทอะไม่เรียบร้อยและเมื่อนำแมวไทยไปผสมกับแมวพันธุ์อื่น ก็จะได้แต้มสีตามร่างกายตามตำแหน่งเดียวกันเสมอ แต่รูปร่างจะไม่สง่างามเท่า
และอุปนิสัยจะไม่ตกทอดไปยังแมวลูกผสมด้วย

นอกจาก ความประหลาดในเรื่องแต้มสีแล้ว รูปร่างของแมวไทยก็น่ารัก ไม่ใหญ่เทอะทะเกินไป มีความงามสง่าและมีขนสั้น แน่น อ่อนนุ่มไปทั้งเรือนร่าง ทั้งยังมีนัยน์ตาสีฟ้าสดใสลึกซึ้งเหมือนกับตาฝรั่ง ซึ่งแมวอื่นไม่มีแมวไทยชนิดนี้เป็นแมวไทยพันธุ์แรกที่ฝรั่งรู้จัก จึงมักเรียกกันทั่วไปว่า Siamese Cat
หรือ Seal Point (แมวแต้มสีครั่ง) ส่วนในสมุดข่อยโบราณของไทยให้ชื่อแมวไทยลักษณะนี้ว่า "วิเชียรมาศ"

ผู้ที่ได้มอบแมววิเชียรมาศให้กับนายโอเวนนั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ของเรานี่เอง

ซึ่งหลังจากที่พระองค์ได้ทรงมอบแมววิเชียรมาศให้นายโอเวนแล้ว ก็ทรงเห็นว่าแมวไทยเป็นสัญลักษณ์ที่สามารถทำให้ประเทศทั่วโลกรู้จัก
ประเทศไทยดีขึ้น จึงได้พระราชทานแมวไทยให้กับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ เช่น อเมริกา ในปี พ.ศ.2433

จากผลงานของพระองค์ทำให้แมวไทยและประเทศไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในสมัยนั้

คุณสมบัติ สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้แมวไทยเหนือกว่าแมวอื่นใดในโลกก็คือ อุปนิสัยของแมวไทย ที่มีความฉลาด รักบ้าน รักเจ้าของ มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักคิด รู้จักประจบ และที่ฝรั่งยกย่องแมวไทยมากที่สุดก็คือ ความรักอิสรภาพของตัวเองเป็นชีวิตจิตใจ อิสระที่จะไปไหนก็ได้ตามใจชอบ อิสระที่จะดื่มและกินเมื่อกระหายหรือหิว อิสระเสรีภาพเป็นสิ่งที่แมวไทยถือเป็นบุคลิกประจำตัว และด้วยสิ่งนี้เองที่มำให้แมวไทยเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักที่สุดในโล

แมวไทยจึงเป็นแมวที่ต้องเลี้ยงอย่างเป็นเพื่อน มันจะอยู่เฉพาะกับเจ้าของที่ให้ความรัก ให้ความเป็นเพื่อนกับมันเท่านั้น เป็นที่น่าประหลาดว่าการผสมพันธุ์ระหว่างแมวไทย กับแมวต่างชาตินั้น แม้ว่าจะได้แมวลักษณะรูปร่าง หรือสีแบบแมวไทยแต่จะไม่ได้อุปนิสัยของแมวไทยไปด้วย นอกจากจะผสมระหว่างแมวไทยด้วยกัน จึงจะคงอุปนิสัย สีสัน รูปร่างต่าง ๆ ไว้ได้อย่างครบถ้ว

นาง Robert Locke ผู้ก่อตั้ง Beresford Cat Club ในปี 1899 และดำรงตำแหน่งเป็นประธานคนแรก
ในรูปนาง Locke ถ่ายกับแมวไทย หรือ ไซมีสแคท สามตัวแรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง เธอตั้งชื่อพวกมันว่า “คาลิฟ”, “สยาม” และ “แบงคอก”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น