โรคติดต่อที่สำคัญในแมว
โรคไข้หัดแมว
โรคนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโรคลำไส้อักเสบติดเชื้อไวรัสในแมว
เกิดได้ในแมวทุกอายุ สาเหตุของโรคนี้คือ เชื้อ parvovirus
ติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรง โดยเฉพาะทางอุจจาระ ภาชนะใส่อาหาร น้ำ กรง
หรือที่ขับถ่ายของแมว แมวทุกตัวควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ อาการที่พบคือ
มีไข้สูงอย่างเฉียบพลัน เม็ดเลือดขาวต่ำมาก เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย
มีอาการขาดน้ำ อ่อนเพลีย ตัวสั่น และเดินไม่ตรง แมวอาจเสียชีวิตภายใน 1
สัปดาห์ และมีโอกาสรอดชีวิตต่ำมาก โดยเฉพาะในกล่ามแมวที่ไม่ได้รับวัคซีน
ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้เมื่อลูกแมวอายุ 6-12 สัปดาห์และแดกระตุ้นซ้ำอีก
2-3 ครั้ง โดยห่างจากเข็มแรก 2-4 สัปดาห์ ควรฉีดกระตุ้นซ้ำเป็นประจำทุกปี
โรคหวัดติดต่อในแมว (Feline Herpes Virus)
หรืออีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันดี Feline Rhinotracheitis Virus
เชื้อนี้ทำให้เกิดโรครุนแรงกว่าเชื้อ Calicivirus โดยเฉพาะในลูกแมว
เชื้อโรคจะมีระยะฟักตัว 2-6 วัน ต่อมาแมวจะซึม ไม่กินอาหาร มีไข้ จามมาก
ตาแดง น้ำมูก น้ำตา น้ำลายไหล
จากนั้นจะเปลี่ยนจากใสเป็นเขียวข้นหรือเหลือข้น ติดเกรอะกรัง
ทำให้แมวหายใจลำบาก อาการรุนแรงถึงขั้นปอดบวมและตายได้
ในรายที่ท้องอาจแท้งได้เนื่องจากไข้สูง ในแมวเล็ก ๆ
อาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
โรคหวัด-หลอดลมอักเสบ (Feline Calicivirus)
เป็นเชื้อที่ก่อนโรคได้ในแมวส่วนมาก อาการคือ มีน้ำมูก น้ำตาไหล
เป็นแผลที่ช่องปากและลิ้น ซึมและเบื่ออาหาร มีไข้ในเวลาต่อมา
แมวส่วนใหญ่จะเจ็บลิ้นและไม่กินอาหาร อาการจึงรุนแรงเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะในลูกแมวอาจทำให้ปอดอักเสบ
ในรายที่สภาพภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ปกติ เช่น ป่วยเป็นโรคเอดส์แมว
มักจะป่วยเรื้อรังด้วยอาการช่องปากอักเสบ เหงือกอักเสบ และทอนซิลอักเสบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น